กลุ่มตัวอย่าง 4 จังหวัด บริโภคโซเดียม ค่าเฉลี่ยสูงกว่าที่ WHO กำหนด

เปิดผลวิจัยการบริโภคโซเดียมในคนไทย 4 จังหวัด อายุ 20-69 ปี พบค่าเฉลี่ยการบริโภคสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ 2,000 มิลลิกรัม

สุขภาพ วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิระดับ 11) ในฐานะประธานคณะกรรมการ MIU (MOPH Intelligence Unit) กล่าวว่า ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Noncommunicable diseases ) เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก

ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สร้างผลกระทบทางสุขภาพ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งกระเพาะอาหารและโรคไตเรื้อรัง นอกจากภาระในการจัดบริการสุขภาพ ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย

สุขภาพ อาหาร

กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากกว่าการรักษาพยาบาลเมื่อป่วยแล้ว โดยเดินหน้าผลักดันการลดบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรลง ร้อยละ 30 ให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2568 ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก เพื่อลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ซึ่งมีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2558 รับรองนโยบายและขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลืออย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า ข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับ “ปริมาณการบริโภคโซเดียมของประชากรไทย จากการประเมินปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง โดยการศึกษาแบบภาคตัดขวาง” เพื่อประมาณการค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมต่อวันของกลุ่มตัวอย่างอายุ 20-69 ปี ใน 4 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และพะเยา รวม 1,440 ราย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ -20 พฤษภาคม 2564

พบว่า ค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียม/วัน รวม 4 จังหวัด เท่ากับ 3,236.8 มก. ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือ 2,000 มก. โดยค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียม/วัน ของแต่ละจังหวัด เป็นดังนี้
  • จ.พะเยา 4,054.8 มก.
  • อำนาจเจริญ 3,773.9 มก.
  • อุบลราชธานี 3,131.3 มก.
  • ศรีสะเกษ 2,906.5 มก.

ส่วนผลตรวจโซเดียมในปัสสาวะกลุ่มตัวอย่าง พบว่า จ.พะเยา มีสัดส่วนการบริโภคโซเดียมมากกว่า 2,000 มก./วัน มากที่สุด รองลงมาคือ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ ตามลำดับ โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริโภคโซเดียมในปริมาณที่สูง คือ ระดับดัชนีมวลกายมาก อายุน้อย ระดับการศึกษามัธยมมากกว่าประถม และระดับรายได้เกินหมื่นบาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การดำรงชีวิต วัฒนธรรมการบริโภคและอาหารประจำถิ่น อีกด้วย

ทั้งนี้ การลดบริโภคเกลือโซเดียมเพื่อลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้หลายมาตรการร่วมกัน ได้แก่ ลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีปริมาณสูง, ให้ความรู้และความตระหนักกับประชาชน, จัดการด้านอาหารสุขภาพในชุมชนหรือองค์กรต่างๆ, ใช้ฉลากอาหารแสดงปริมาณโซเดียมเพื่อสร้างการรับรู้และการตัดสินใจเลือกรับประทาน

‘ต้นตีนเป็ด’ แพทย์แผนไทย เตือนเลี่ยงสูดกลิ่น อาจส่งผลต่อระบบหัวใจล้มเหลว

‘ต้นตีนเป็ด’ แพทย์แผนไทย เตือนเลี่ยงสูดกลิ่น อาจส่งผลต่อระบบหัวใจล้มเหลว

แพทย์แผนไทย เตือนเลี่ยงสูดกลิ่น ‘ต้นตีนเป็ด’ ที่ช่วงค่ำจะมีกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น เพราะอาจส่งผลต่อระบบหัวใจล้มเหลวขณะที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ต้นตีนเป็ดกว่า 20 ต้น ออกดอกบานสะพรั่งพร้อมกันส่งกลิ่นรุนแรงที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด ‘ต้นตีนเป็ด’ หรือ พญาสัตบรรณ ราวๆ 20 ต้น ที่มีความสูงเกือบ 10 เมตร ออกดอกบานสะพรั่ง สิ่งกลิ่นทั่วบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ซึ่งจุดเป็นที่มีต้นตีนเป็ดเยอะที่สุดในเขต อ.เมืองตราด

สุขภาพ

น.ส.มยุรี บุญส่ง อายุ 35 ปี แพทย์แผนไทย ชำนาญการโรงพยาบาลตราด สาขาวัดไผ่ล้อม ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นตีนเป็ดออกดอก และส่งกลิ่นไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะในช่วงเย็นเป็นช่วงที่มีกลิ่นมากที่สุด ซึ่งต้นตีนเป็ด มีทั้งคุณและโทษ โดยประโยชน์ สามารถนำเปลือกมาใช้เป็นยารักษาพิษไข้ต่างๆ ได้ ส่วนโทษนั้นดอกที่ส่งกลิ่นแรงๆ เป็นกลิ่นของไซยาไนด์ มีผลต่อระบบหัวใจโดยตรง และการหมุนเวียนของเลือดด้วย หากสูบดมนานๆ เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด บริเวณท้ายทอยจะมีอาการตึง อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ระบบหัวใจอาจล้มเหลวได้

เตือนประชาชนว่า หากอยู่ใกล้กับต้นตีนเป็ด ควรหลีกเลี่ยงดีที่สุด ไม่แนะนำให้สูบดม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใส่หน้ากากอนามัยจะช่วยลดการกลิ่น และหากเกิดการเวียนหัวโดยฉับพลัน ให้ใช้ยาดม ใช้น้ำเหลือง ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน โดยทาบริเวณท้ายทอย ขมับทั้ง 2 ขา เพื่อให้เลือดลมเดินได้ตามปกติ

ติดตามบทความเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่นี่ >>> อีกความหวัง วัคซีนมาลาเรียตัวใหม่จากอ็อกซ์ฟอร์ดจะช่วยลดการตายในเด็ก

อีกความหวัง วัคซีนมาลาเรียตัวใหม่จากอ็อกซ์ฟอร์ดจะช่วยลดการตายในเด็ก

อีกความหวัง วัคซีนมาลาเรียตัวใหม่จากอ็อกซ์ฟอร์ดจะช่วยลดการตายในเด็ก

สุขภาพ

นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในสหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จ พัฒนาวัคซีนต้านมาลาเรีย ที่เชื่อว่าจะ “เปลี่ยนโลก” ไปโดยสิ้นเชิง

ทีมนักวิทยาศาสตร์คาดว่า จะสามารถผลิตและจัดส่งวัคซีนที่มีชื่อว่า “อาร์21” (R21) ได้ภายในปีหน้า หลังผลการทดลองพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพต้านทานโรคมาลาเรียได้ถึง 80%

ไม่เพียงเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ผู้พัฒนาเน้นว่า สิ่งสำคัญคือวัคซีนมีราคาถูก ราว 100 บาทต่อโดสเท่านั้น และตอนนี้ ทางทีมได้ทำข้อตกลงเพื่อผลิตวัคซีนแล้วมากกว่า 100 ล้านโดสต่อปี โดยมีสถาบันเซรุ่มวิทยาแห่งอินเดียเป็นผู้รับหน้าที่ผลิตวัคซีนต้านมาลาเรียของอ็อกซ์ฟอร์ด หากได้รับการอนุมัติโดยองค์การอนามัยโลก

องค์กรการกุศล “มาลาเรีย โน มอร์” (Malaria No More) มองว่า ความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนต้านมาลาเรียตัวใหม่ อาจช่วยป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ เสียชีวิตจากโรคร้ายนี้อีก “ในช่วงชีวิตของเรา”